
สารบัญ (Table of Content)
- ล้างมือ ก่อนและหลังให้อาหารทางสายยาง ทุกครั้ง
- ตรวจสอบตําแหน่งสายให้อาหาร ว่าอยู่ในตําแหน่งที่ถูกต้องทุกครั้งก่อนการให้อาหาร
- ทําความสะอาดช่องปากและดูดเสมหะก่อน การให้อาหารทุกครั้ง
- จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนศรีษะสูง 30 – 45 องศา หรือ เอนตัวพอประมาณ
- ดูดอาหารที่ค้างในกระเพาะอาหาร – ถ้ามีปริมาณมากกว่า 50 ซีซี ให้ดันกลับ
- ให้อาหารโดยปล่อยให้อาหารหยดลงสู่กระเพาะ อาหารช้าๆ ตามแรงโน้มถ่วง
- จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมต่อ อีกอย่างน้อย 1ชั่วโมง หลังจากให้อาหาร
- บทความที่เกี่ยวข้อง
1. ล้างมือ ก่อนและหลังให้อาหารทางสายยาง ทุกครั้ง
2. ตรวจสอบตําแหน่งสายให้อาหาร ว่าอยู่ในตําแหน่งที่ถูกต้องทุกครั้งก่อนการให้อาหาร
3. ทําความสะอาดช่องปากและดูดเสมหะก่อน การให้อาหารทุกครั้ง
4. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนศรีษะสูง 30 - 45 องศา หรือ เอนตัวพอประมาณ
5. ดูดอาหารที่ค้างในกระเพาะอาหาร - ถ้ามีปริมาณมากกว่า 50 ซีซี ให้ดันกลับ
แล้วรออีก 1 ชั่วโมง ค่อยดูดวัดใหม่
– ถ้ายังมีปริมาณอาหารที่ค้างมากกว่า 50 ซีซี อีก ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเลื่อนหรืองดอาหารมื้อนั้นๆ
* หากพบสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารมสี แดงสด หรือ สีน้ําตาล ให้พาผู้ป่วยมาพบแพทย์
6. ให้อาหารโดยปล่อยให้อาหารหยดลงสู่กระเพาะ อาหารช้าๆ ตามแรงโน้มถ่วง
7. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมต่อ อีกอย่างน้อย 1ชั่วโมง หลังจากให้อาหาร
อาการผิดปกติที่ควรระมัดระวัง !
– หากผู้ป่วยไอระหว่างการให้อาหาร รอจนผู้ป่วยหยุดไอแล้วจึงให้อาหารต่อ
– หลีกเลี่ยงการดูดเสมหะขณะให้อาหารหรือหลังให้อาหาร 1 ชั่วโมง
สรุป
ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึง ผู้ป่วยอื่นๆ ที่มีความจําเป็นต้องรับประทานอาหารทางสายยาง ควรปฏิบัติด้วยวิธีการที่ถูก ต้องทั้ง 7 ขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นจากการให้อาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อจากการ สําลัก เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ฝ่ายการพยาบาล และงานสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล