ผู้สูงวัยบางท่านที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีปัญหาเรื่องการนอนติดเตียงมักจะมีปัญหาขาดสารอาหารจน ร่างกายซูบผอมลง จนเกิดมีปุ่มกระดูกชัด รวมถึงอาจจะมีปัญหาด้านผิวหนังที่แห้ง หย่อนยาน ขาดความชุ่มชื้นและมีภาวะโรคร่วมอย่างอื่นที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดแผลกดทับ หรือ แผลที่เกิดจากการเสียดสีได้ เช่น ภาวะเบาหวานที่เป็นภัยร้าย แผลอักเสบติดเชื้อง่าย ภาวะเส้นเลือดที่ปลายแขนขาที่ไม่ดี รวมถึงปัจจัยความชื้นของอากาศและวัสดุ ที่ไม่เหมาะสม พื้นผิวแข็งมีเสี่ยงต่อการเสียดสีมาก ก็จะเป็นปัญหาได้เช่นกัน
วันนี้เรามี 5 วิธีป้องกันการเกิดแผลกดทับมาฝากกันครับ
1. ล้างมือ ก่อนและหลังให้อาหารทางสายยาง ทุกครั้ง
การเปลี่ยนและการจัดท่าของผู้ป่วย โดยยึดเอาตามความสามารถในการขยับ และการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเป็นหลัก หากผู้ป่วยนอนติดเตียงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลยควรเปลี่ยนท่านอนใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง อาจจะเป็นถ้านอนหงายแล้วนอนตะแคงโดยอาจใช้หมอนข้างนิ่ม ๆ มากั้น รวมถึงใช้หมอนนิ่ม ๆ ใบเล็กแทรกอยู่ตามระหว่างปุ่มกระดูกที่อาจกดทับกันจนเป็นแผลได้ หากผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่สามารถนั่งบนรถเข็นควรจะเปลี่ยนท่านั่งใหม่ทุก ๆ 1 ชั่วโมง ระหว่างอาบน้ำเช็ดตัวเปลี่ยนผ้าอ้อม ควรหมั่นสังเกตสีผิวที่เปลี่ยนแปลง หากเริ่มแดง คล้ำ ควรหมั่นพลิกตัวเปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ
2. ตรวจสอบตําแหน่งสายให้อาหาร ว่าอยู่ในตําแหน่งที่ถูกต้องทุกครั้งก่อนการให้อาหาร
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมาก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีภาวะโรคประจำตัว ขาดสารอาหาร รวมถึงมีปุ่มกระดูกขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งกดทับ สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับเสริมได้ เช่น หมอนนุ่มๆ ที่จะช่วยลดแรงกดทับได้ เตียงลมที่ได้มาตรฐาน หรือเจลรองตำแหน่งกดทับ เป็นต้น
3. ทําความสะอาดช่องปากและดูดเสมหะก่อน การให้อาหารทุกครั้ง
การป้องกันภาวะผิวหนังที่แห้งหรืออับชื้นมากจนเกินไป ในกรณีผู้ป่วยไม่สามารถกลั้นปัสสาวะอุจจาระได้ แต่หากยังช่วยเหลือตัวเองได้ควรจัดตารางการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ใช้อยู่ให้สะอาดเป็นประจำ รวมถึงอาจใช้ยา ครีมทาเคลือบผิว เพื่อลดอาการระคายเคือง หลังจากขับถ่าย เช่น มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) ทาผิวหลังอาบน้ำ และหลังทำความสะอาด รวมถึงเวลาที่พบผิวแห้ง และควรหมั่นสังเกตหากผู้สูงวัยมีอาการคันมากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่นแผลเบาหวาน ผื่นแพ้ผ้าอ้อม แพ้เทปปิดผิวหนัง หากเกามาก ๆ ไปนาน ๆ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อันตรายมาก ๆ ครับ
4. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนศรีษะสูง 30 - 45 องศา หรือ เอนตัวพอประมาณ
การดูแลด้านโภชนาการให้ผู้สูงวัยได้รับอย่างครบถ้วน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับอาหารผ่านทางสายยาง รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ การคำนวณปริมาณการรับสารอาหารหลัก ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันชนิดดี ไขมันอิ่มตัว และชนิดทรานส์ ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง และการให้สารอาหารหรือวิตามินเสริมในสัดส่วนที่พอเหมาะ ในรายที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เสริมในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละรายก็เป็นสิ่งจำเป็น หากภาวะโภชนาการดี ก็จะทำให้โอกาสการเกิดแผลน้อยลง แม้ว่าจะเป็นแผลก็ฟื้นตัวได้ไวครับ
5. ดูดอาหารที่ค้างในกระเพาะอาหาร - ถ้ามีปริมาณมากกว่า 50 ซีซี ให้ดันกลับ
แล้วรออีก 1 ชั่วโมง ค่อยดูดวัดใหม่
– ถ้ายังมีปริมาณอาหารที่ค้างมากกว่า 50 ซีซี อีก ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเลื่อนหรืองดอาหารมื้อนั้นๆ
* หากพบสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารมสี แดงสด หรือ สีน้ําตาล ให้พาผู้ป่วยมาพบแพทย์
6. ให้อาหารโดยปล่อยให้อาหารหยดลงสู่กระเพาะ อาหารช้าๆ ตามแรงโน้มถ่วง
7. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมต่อ อีกอย่างน้อย 1ชั่วโมง หลังจากให้อาหาร
อาการผิดปกติที่ควรระมัดระวัง !
– หากผู้ป่วยไอระหว่างการให้อาหาร รอจนผู้ป่วยหยุดไอแล้วจึงให้อาหารต่อ
– หลีกเลี่ยงการดูดเสมหะขณะให้อาหารหรือหลังให้อาหาร 1 ชั่วโมง
สรุป
ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึง ผู้ป่วยอื่นๆ ที่มีความจําเป็นต้องรับประทานอาหารทางสายยาง ควรปฏิบัติด้วยวิธีการที่ถูก ต้องทั้ง 7 ขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นจากการให้อาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อจากการ สําลัก เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ฝ่ายการพยาบาล และงานสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล